Famitsu นิตยสารเกมที่มีคนอ่านมากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น

สมาคมผู้ผลิตนิตยสารของประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการเปิดเผยตัวเลขเกี่ยวกับจำนวนผู้อ่านนิตยสารเกมในแต่ละยี่ห้อของประเทศญี่ปุ่นออกมาแล้ว ผลการสำรวจนี้ได้ทำการสำรวจตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2552 ก็ได้ผลสรุปออกมาดังนี้

นิตยสาร Famitsu ฉบับล่าสุด
  • Weekly Famitsu: 500,000
  • Dengeki Nintendo DS: 160,000
  • Famitsu PSP+PS3: 150,000
Dengeki PlayStation (หนึ่งในนิตยสารภายใต้แบรนด์ Dengeki)
  • Dengeki PlayStation: 131,061
นิตยสารเกมอาเขต Arcadia
  • Arcadia: 120,000
  • Dengeki G’s Magazine: 120,000
  • Famitsu Xbox 360: 120,000
  • Famitsu DS+Wii: 100,417
  • Dengeki Maoh: 100,000
  • Famitsu Wave DVD: 100,000
  • Dengeki Girl’s Style: 80,000
  • Dengeki Hime: 80,000
  • Famitsu Connect! On: 80,000
B's Log Magazine
  • B’s-LOG: 50,000
  • Game Japan: 30,000

จะเห็นได้ว่าหนังสือเกมส่วนมากในประเทศญี่ปุ่นนั้นจะออกวางจำหน่ายเป็นรายสัปดาห์ซะเยอะ จะว่าเหมือนหนังสือพิมพ์ก็ไม่ปาน (บ้านเราก็ได้อิทธิพลจากตรงนี้มาเยอะเหมือนกันนะครับ) จำนวนผู้อ่านอาทิตย์ละห้าแสน ถือว่าเยอะพอสมควร แต่ถ้าหากเทียบกับนิตยสารของฝรั่งหัวทองแล้ว จากรายงานของเว็บไซต์ Kotaku มีรายงานพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังสือเกมในฝั่งอเมริกาและยุโรปด้วย โดยได้รายงานว่าหนังสือเกมชื่อดังแห่งอเมริกาอย่าง Game Informer มีจำนวนผู้อ่านมากถึง 3.5 ล้านคนต่อเดือน ซึ่งจำนวนนี้จะมากก็อาจจะไม่ค่อยน่าแปลกใจเท่าไหร่ เหตุผลเนื่องจาก Game Informer นั้นเจ้าของคือ GameStop ร้านเกมใหญ่ที่สุดในอเมริกา แน่นอนว่าผู้คนก็จะได้เห็นแต่ Game Informer ตลอดเมื่ออยู่ในร้าน GameStop แต่สำหรับแฟมิซือเป็นนิตยสารที่มีการแข่งขันกับเล่มอื่นๆ อย่างอิสระ

EDGE Magazine ฉบับล่าสุด

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับ Edge Magazine ที่เราอาจจะเคยเห็นผ่านๆ ตากันมาบ้างแล้วก็ได้ นิตยสารเล่มนี้เป็นนิตยสารสัญชาติอังกฤษ แต่มียอดขายในแต่ละอาทิตย์เพียง 28,000 เล่มเท่านั้น และกำลังลดลงอย่างต่อเนื่องไปเรื่อยๆ (นิตยสาร Play ก็พอกันครับ ตัวเลขไม่ห่างจากตรงนี้มาก ที่สำคัญเป็นสัญชาติอังกฤษเช่นกัน)

Play Magazine ฉบับล่าสุด (ต่างประเทศ)

จะว่าไปหนังสือของประเทศญี่ปุ่น ถือว่าค่อนข้างหลากหลายและเฉพาะตัวมากทีเดียว เนื่องจากวงการเกมของประเทศเขาเองมีอะไรที่เป็นเฉพาะตัวเยอะ (จะมองแต่คอนโซลก็คงไม่ได้นะครับ พีซีและอาเขตเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่เติบโตในญี่ปุ่นมากไม่แพ้กัน) ฉะนั้นหนังสือของเค้าจะมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งหนังสือเกมอาเขต หรือแม้แต่หนังสือเกมสำหรับผู้ใหญ่ (hentai)

จะว่าไปทำไมไม่มีคนเอา Game Informer มาแปลในไทยสักทีน้อ หนังสือเค้าออกจะดังขนาดนั้น

Game Informer ฉบับล่าสุด

Source: VG247
Image: Flickr

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *