คำตอบ Safety Remove Hardware เพื่ออะไร จำเป็นมั๊ย?

usb-drive-eject-dialog

Flash drive, Thumb drive (หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียกตามแต่ละคน) เป็นของที่คนใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนนั้นไม่มีก็แปลกในยุคนี้เพราะราคาถูกแทบจะแจกฟรี แต่คำถามสำหรับคนใช้คอมพิวเตอร์คือสรุปแล้วยุคนี้เรายังต้องคลิกมุมขวาล่างของจอเพื่อ Safety Remove Hardware ทุกครั้งหลังการใช้งานหรือไม่ ?

คำตอบที่ได้นั้นหลากหลายกันไป หลายคนบอกต้องทำทุกครั้ง หลายคนบอกไม่ต้อง เพราะสามารถเซ็ทค่าใน Device Manager ให้ใช้แบบ Quick Remove ได้ ดังรูปด้านล่าง

quick-remove-usb
Device Manager -> Disk Drives -> ชื่อ Flash Drive ของคุณคลิกขวาเลือก Properties -> Policies

ถ้าเซ็ทตามรูปด้านบน (ปกติเราไม่ต้องเซ็ท เพราะค่าดั้งเดิมมันคือตัวนี้) จะทำให้เราสามารถดึงแฟลชไดร์ฟออกได้อย่างปลอดภัย แต่คำแนะนำของผมคือควรจะกด Safety Remove Hardware ก่อนดึงไดรฟ์ออกก่อนอยู่ดี เพราะอะไร ก็เพราะมันไม่คุ้มที่คุณจะทำข้อมูลหายหรือไดรฟ์มีปัญหาไง

เหตุผลเพราะไม่รู้ว่าคุณจะใช้งานไฟล์ด้านในไดรฟ์นั้นด้วยเหตุผลอะไร เช่นอาจจะดึงไฟล์ไปเปิดในโปรแกรม อันนี้คนส่วนใหญ่นิยมทำกันอยู่แล้วเพราะย้ายงานไปมา คุณไม่สามารถการันตีได้ว่าโปรแกรมที่คุณเปิดนั้นมันกำลังเขียนหรืออ่านไฟล์จากไดรฟ์อยู่หรือไม่ หากคุณดึงไดรฟ์ออกเลยขณะที่กำลังเขียนหรืออ่าน มีโอกาสสูงที่เหตุการณ์ต่อไปนี้จะเกิดขึ้น

– ไฟล์ในไดรฟ์มีปัญหา
– โปรแกรมที่ใช้ไฟล์นั้น ๆ crash หรือมีปัญหา
– ระบบปฏิบัติการฟ้องว่าไฟล์ยังเขียนไม่เสร็จ

เช่นด้านล่างผมลองก๊อปปี้ไฟล์วิดีโอขนาด 170 MB ลงไดรฟ์ และดึงออกทันทีขณะก๊อปปี้ได้ครึ่งหนึ่ง หากมองในหน้าต่างจะพบว่าไฟล์มีขนาดเท่ากัน แต่จริง ๆ แล้วไฟล์บนไดรฟ์นั้นไม่สมบูรณ์

copy-incomplete-source
ต้นฉบับ
copy-incomplete-drive
บนไดรฟ์ (ไฟล์ไม่สมบูรณ์)

ถ้าเป็นไฟล์ชนิดอื่นคาดว่าอาจจะเปิดกับโปรแกรมเลยไม่ได้ด้วยซ้ำไป (เพราะข้อมูลทั้งไฟล์มาไม่ครบ) คงไม่มีใครอยากปวดหัวกับปัญหาว่าก๊อปไฟล์งานกลับไปเปิด ดูเหมือนจะสมบูรณ์แต่ดันอ้าวดันเปิดไม่ได้ ฉะนั้นการ Safety Remove Hardware เป็นสิ่งที่ควรจะทำเพื่อความปลอดภัย 100% เช่นหากคุณกด Safety Remove Hardware แล้วมันฟ้องแบบนี้

eject-error-dialog

หมายความว่ามีโปรแกรมตัวใดตัวหนึ่งกำลังใช้ไฟล์ในไดรฟ์อยู่นั่นเอง มันจะให้คุณไปปิดไฟล์นั้น ๆ ก่อนเพื่อความปลอดภัย และจะสามารถ eject ออกได้ ถ้าคุณดึงไดรฟ์ออกเลยแน่นอนว่าอาจจะไม่พบหน้าจอแบบนี้ แต่โอกาสที่กลับไปเปิดไฟล์อีกรอบแล้วพบว่ามันมีปัญหานั้นก็ 50/50

แต่ส่วนตัวผมเองใช้คอมมานาน พอจะรู้ว่าจังหวะไหนควรใช้หรือไม่ใช้ เช่นหากผมใช้แค่การอ่านไฟล์ ไม่ได้เขียนลงหรือก๊อปปี้ไฟล์ไปมาเฉย ๆ ถ้ามั่นใจว่าก๊อปเสร็จแล้วก็สามารถดึงออกได้เลยไม่ต้องกดก่อน คือจะบอกว่าไม่ต้องกด Safety Remove Hardware ก่อนก็ได้ ซึ่งคุณควรรู้ว่าทำอะไรอยู่จึงจะใช้วิธีแบบนี้ได้นั่นเอง

อีกคำถามคือหากเป็น external harddisk ขนาด 2.5 ที่นิยมใช้กันละควรทำเหมือนกันหรือไม่ ? คำตอบคือใช่ครับ ควรกด Safety Remove เช่นเดียวกัน

เอาเป็นว่าคำตอบน่าจะเคลียร์ ๆ สักระดับนึง หากมีคำถามก็ลองถามด้านล่างได้ครับ หากมีประโยชน์ก็แชร์ให้คนอื่นได้ทราบก็จะเป็นเรื่องดีไม่น้อยนะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *