WPA3 มาตรฐานการเข้ารหัส Wi-Fi แบบใหม่ที่จะมาในเร็ว ๆ นี้

ยุคนี้ความปลอดภัยถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะหากจะว่าถึงการสื่อสารแบบไร้สายอย่าง Wi-Fi มีแบบแพร่หลายทุกที่ แล้วการเข้ารหัสก็ต้องสำคัญมาก ๆ เพราะมิเช่นนั้นนอกจากเราจะใช้ไวไฟเองแล้ว อาจจะยังแถมผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาอีกด้วย สำหรับผู้ที่ต้องการความปลอดภัยถึงขีดสุด ขณะนี้ Wi-Fi ได้อัพระดับความปลอดภัยเข้าไปอีกขั้น Continue reading “WPA3 มาตรฐานการเข้ารหัส Wi-Fi แบบใหม่ที่จะมาในเร็ว ๆ นี้”

มาตรฐาน 5G กับความคืบหน้าของ 3GPP ในการออกประกาศฉบับที่ 15

หากใครติดตามข่าวสารเกี่ยวกับมาตรฐานการสื่อสารแบบพกพาใหม่ล่าสุดที่กำลังจะมาอย่าง 5G กันอยู่บ้างแล้วจะทราบว่าทาง 3GPP ซึ่งเป็นผู้ดูแลมาตรฐานการสื่อสารใหม่นี้เพิ่งออกสเปคของ 5G รอบล่าสุดไปเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว โดยยังใช้อุปกรณ์เดิมจากมาตรฐาน 4G อยู่ ซึ่งหลายคนคิดว่าอาจจะยังไม่ได้เป็นมาตรฐาน 5G ที่แท้จริงเพราะยังอยู่บนอุปกรณ์ตัวเดิมเสียมาก Continue reading “มาตรฐาน 5G กับความคืบหน้าของ 3GPP ในการออกประกาศฉบับที่ 15”

5G คืออะไร เร็วแค่ไหน เปลี่ยนแปลงอย่างไร

โลกการสื่อสารแบบไร้สายของเราตอนนี้มากันถึงยุค 4G (หรือ 4.5G) กันแล้ว และอีกไม่นานเราก็จะเข้าสู่ยุคใหม่ที่อัพเกรดกันขึ้นไปอีกระดับคือ 5G แต่คำถามที่หลายคนอยากรู้คือมันต่างกับ 4G อย่างไร และเมื่อไหร่เราจะได้ใช้งานกัน บทความนี้จะนำข้อมูลแบบคร่าว ๆ เท่าที่หาได้ในตอนนี้มาบอกกล่าวให้รู้กัน

ขณะนี้โลกเรายังอยู่กันในยุคที่ 4 ของการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยที่ใช้เทคโนโลยีอย่าง LTE และรุ่นอัพเกรดล่าสุดคือ LTE-A (ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นยุค 4.5G) โดยดั้งเดิมแล้วนั้น 4G ความเร็วจะสูงสุดที่ 100 Mbps และเปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารไปใช้เป็น Packet Switching แทนที่จะเป็น Circuit Switching แบบที่เคยเป็นในยุคก่อนหน้า หมายความว่ามือถือทุกตัวที่ต่อกับเครือข่าย 4G เปรียบได้เป็นเหมือนกับอุปกรณ์หนึ่งตัวในวงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (คล้ายเรากำลังต่อเน็ตผ่านไวไฟตลอดเวลา) และนี่คือสิ่งที่เรากำลังเป็นกันอยู่ในตอนนี้นั่นเอง

การเปลี่ยนยุคของการสื่อสารของโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นไม่จำเป็นที่จะต้องทำให้รองรับเทคโนโลยีเดิมในทางทฤษฏี แต่ความเป็นจริงนั้นมือถือของเรายังคงรองรับเทคโนโลยีเก่าอยู่แม้ว่าจะสามารถใช้เทคโนโลยีใหม่ได้ เพราะผู้ใช้นั้นไม่สามารถเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีใหม่พร้อมกันได้ทั้งหมดอยู่แล้ว

โอเคกลับมาเรื่อง 5G ดีกว่า มาตรฐานของยุคที่ 5 นี้มีกลุ่มที่ให้คำจำกัดความว่าเทคโนโลยีระดับใดถึงจะนับว่าเป็น 5G อยู่สองกลุ่มคือ 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรที่มีการรวมหลายองค์กรจากหลายประเทศจากทั่วทุกภูมิภาคทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน อีกกลุ่มคือ ITU ซึ่งเป็นสหภาพนานาชาติที่ออกมาตรฐานการสื่อสารต่าง ๆ ทั่วโลก แต่สำหรับ 5G แล้วสเปคของ 3GPP นั้นได้รับการสนับสนุนมากกว่าของทาง ITU

ตัวอย่างของความสามารถของมือถือในยุค 5G ก็จะมีดังนี้

– มีทั้งแบบคลื่นความถี่สูงมากระดับ 26-60 GHz และมีแบบความถี่ต่ำคือ 3.5-4.2 GHz
– Massive MIMO (Multiple Input Multiple Output) เหมือนการรวมเสาสัญญาณในระบบไวไฟที่ทำให้มีความเร็วสูงกว่ามือถือในระบบ 4G ดั้งเดิมอย่างต่ำ 10 เท่า (จากบางแหล่งกล่าวว่าจะมีความเร็วการส่งข้อมูลอยู่ที่ 20 Gbps)
– ใช้พลังงานต่ำกว่าเดิมในฝั่งของตัวอุปกรณ์ลงกว่าเท่าตัว
– Latency ที่ 1ms สำหรับการสื่อสารแบบ end-to-end
– รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์มากกว่าของเดิม 10-100 เท่า

ทั้งหมดด้านบนเป็นสเปคคร่าว ๆ ซึ่งความหมายของคำว่า 5G นั้นมีการตีความและกำหนดไปในหลายทิศทางมาก ๆ โดยในกระดาษอาจดูสวยหรูแต่การใช้งานจริงยังอยู่ในช่วงการวิจัยและพัฒนา

โดยผู้ผลิตรายใหญ่ ๆ จะแข่งขันกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองที่ทำให้สามารถเรียกว่าเป็นมือถือ 5G ได้เต็มรูปแบบ ทั้งจากอเมริกาเช่น Verizon, AT&T ฝั่งจีนเช่น ZTE, Huawei ฝั่งยุโรป Nokia เป็นต้น โดยในปีนี้เริ่มมีการทดสอบในวงแคบ ๆ กันบ้างแล้วเช่นเมื่อช่วงโอลิิมปิคฤดูหนาวที่ผ่านมาในเกาหลีใต้ บริษัท KT ยักษ์ใหญ่วงการเทเลคอมของเกาหลีก็มีการโชว์เทคโนโลยี 5G ของตัวเองในงานนี้ด้วยเช่นเดียวกัน งานนี้ใครจะเป็นผู้นำในการพัฒนา 5G ต้องรอติดตามกันต่อไป

โดยคาดกันว่า 5G จะออกมาให้ได้ใช้กันในรูปแบบการค้าภายในปี 2020 ซึ่งจะมาในรูปแบบไหน สามารถใช้บางสิ่งบางอย่างร่วมกับ 4G เดิมได้หรือไม่ก็คงต้องรอดูกันในช่วงเวลานั้นอีกทีนึง

ที่มา Wikipedia, TechRadar, KoreaTimes

Li-Fi เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงผ่านหลอดไฟ

แม้ว่าปัจจุบันเราจะนิยมใช้เทคโนโลยีการสื่อสารที่ใช้คลื่นวิทยุเสียเป็นส่วนใหญ่เช่น Wi-Fi แต่การสื่อสารโดยใช้สเปกตรัมของแสงก็ยังพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เนื่องจากมีความน่าสนใจมีอะไรหลายๆ อย่างเอื้อมากกว่าหากเราทำสำเร็จ ล่าสุดทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Oxford, Cambridge, Edinburgh, St Andrews และ Strathclyde ได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีที่อาจจะมาแทน Wi-Fi ได้ในอนาคตโดยใช้ชื่อว่า Li-Fi (Light Fidelity) เป็นระยะเวลาหลายปีแล้ว และได้ออกมาประกาศว่าสามารถทำความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลได้มากกว่าเน็ต Ultra Highspeed ที่เรารู้จักกันถึง 250 เท่า Continue reading “Li-Fi เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงผ่านหลอดไฟ”

Google หวังปรับปรุงบริการแปลภาษาให้ดียิ่งขึ้น

ทุกวันนี้เราทราบกันดีกว่า Google Translate นั้นก็มีการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ แต่การแปลแต่ละภาษากลับไปกลับมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะปัจจุบันถึงแม้ว่าจะสามารถแปลพอเข้าใจได้ระดับหนึ่ง แต่ Google Translate นั้นยังไม่เข้าใจในเรื่องแกรมม่าหรือหลักไวยากรณ์มากมายนัก ทำให้ข้อมูลที่แปลออกมาแล้วยังต้องใช้การกรองผ่านมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง ไม่สามารถนำไปใช้งานได้ทั้งหมด Continue reading “Google หวังปรับปรุงบริการแปลภาษาให้ดียิ่งขึ้น”

เว็บบริการฝากไฟล์ Tencent ให้พื้นที่สูงสุดถึง 10 TB

เว็บฝากไฟล์สมัยนี้เรียกได้ว่ามีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดมิใช่เล่น หากมองไปทางฝั่งยุโรปหรืออเมริกาแล้วก็มีบริการที่เรารู้จักกันอย่างดีเช่น Dropbox, Mediafire, Skydrive เป็นต้นที่คนไทยๆ แบบเรามักนิยมใช้งานกัน แม้แต่ฝั่งจีนเองก็มีบริการที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะผู้ให้บริการสัญชาติจีนอย่าง Tencent นั้นถือว่าใจป้ำแบบสุดๆ เพราะบริการของเขาเองนั้นให้พื้นที่มากสูงสุดถึง 10 TB Continue reading “เว็บบริการฝากไฟล์ Tencent ให้พื้นที่สูงสุดถึง 10 TB”

Cookpad เว็บรวมสูตรอาหารสัญชาติญี่ปุ่น

สำหรับคนที่ชอบทำอาหารทานเองไม่ควรพลาดเว็บไซต์นี้ Cookpad เป็นเว็บไซต์รวมสูตรอาหารจากประเทศญี่ปุ่นที่ได้รับความนิยมสูงมาก เพราะมีผู้ใช้จำนวนมากนิยมแชร์สูตรอาหารของตัวเองทำให้มีฐานข้อมูลอาหารน่าทำกินเองจำนวนมากจริงๆ แต่ปัญหาของคนนอกแบบเราคือ มันเป็นภาษาญี่ปุ่น! ซึ่งเราเองก็แน่นอนละว่าอ่านไม่ออก ฮ่าๆ แต่วันนี้อย่างน้อยปัญหาเหล่านี้ก็หมดไประดับนึงเมื่อ Cookpad เปิดเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษให้เราได้อ่านกันแล้ว! Continue reading “Cookpad เว็บรวมสูตรอาหารสัญชาติญี่ปุ่น”