นักวิจัยพัฒนาคอมพิวเตอร์ เล็กที่สุด ขนาดเล็กกว่าเมล็ดข้าว

University of Michigan พัฒนา “คอมพิวเตอร์” ขนาดเล็กที่สุดขนาด 0.04 ลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ IBM พัฒนาไว้ก่อนหน้านี้ถึงสิบเท่าตัว หากคิดว่าไม่ออกขนาดมันเล็กแค่ไหน รูปภาพด้านบนคือตัวชิปเทียบกับขนาดของเมล็ดข้าวสาร จะเห็นว่าเมล็ดข้าวสารดูใหญ่ไปเลยทีเดียว

ชิปตัวนี้เป็นชิปที่เอาไว้ตรวจสอบอุณหภูมิและมีความไวที่สูงมากต่อแสงภายนอกถึงระดับหากส่อง LED เข้าไปด้านในทำให้วงจรมีกระแสวิ่ง ที่สามารถพัฒนาได้เล็กขนาดนี้เพราะนักวิจัยเปลี่ยนจากไดโอด เป็นคาปาซิเตอร์แทนเพื่อลดผลกระทบจากแสงภายนอกซึ่งไดโอดนั้นมีความไวมากกว่า เพื่อลดสัญญาณรบกวน (noise) ให้ได้มากที่สุดที่เกิดจากการผลิตวงจรเล็กจิ๋วขนาดนี้ออกมา

ด้วยขนาดเซ็นเซอร์ที่เล็กขนาดนี้ทำให้มีความเป็นไปได้ที่สามารถสร้างเซ็นเซอร์เพื่อวางไว้ในกลุ่มเซลล์ร่างกายของเราเพื่อไว้ตรวจสอบได้ โดยนักวิทยาศาสตร์ยังคงสงสัยว่าเนื้อร้ายมะเร็งนั้นมีความร้อนสูงกว่าเนื้อส่วนปกติ ซึ่งการตรวจสอบนั้นเป็นไปแทบไม่ได้เลย จนกระทั่งสามารถพัฒนาเซ็นเซอร์ขนาดเล็กแบบนี้ออกมา ทำให้มีความเป็นไปได้ในการตรวจสอบมากขึ้น และน่าจะทำให้การวิจัยด้านการตรวจสอบและรักษาโรคมะเร็งนั้นมีความคืบหน้ามากกว่าที่เคยเป็นมาก็เป็นไปได้ นอกจากนี้ยังทำให้การวิจัยในด้านอื่น ๆ เช่นการตรวจสอบ Glaucoma ในลูกตา หรือการตรวจจับความเปลี่ยนแปลงทางเคมีของโมเลกุลเล็ก ๆ เป็นไปได้อีกด้วย

แน่นอนว่านิยามของคำว่าคอมพิวเตอร์ในที่นี้ นักวิจัยหมายถึงคำว่าคอมพิวเตอร์จริง ๆ เพราะชิปเล็กแค่นี้มีทั้งหน่วยประมวลผลหลักที่พัฒนาโดยใช้พื้นฐานของ ARM Cortex-M0+ แต่มันจะเสียข้อมูลทั้งหมดในตัวมันทันทีเมื่อไม่มีพลังงาน ถึงข้อนี้อาจทำให้มันไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่เราคาดหวังกันไว้สักเท่าไหร่ แต่ขนาดที่เล็กขนาดนี้ก็มีประโยชน์มากอย่างแน่นอนในอนาคต

ที่มา Engadget

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *