India มีแผนผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ 100 GW ภายในปี 2030

พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซล่าเซลล์ เป็นหนึ่งในหนทางการผลิตกระแสไฟฟ้าที่ปัจจุบันยังมีการพัฒนาอยู่เรื่อย ๆ ในด้านกำลังการผลิต รวมไปถึงเทคโนโลยีที่ทำให้แผงรุ่นใหม่ ๆ นั้นมีประสิทธิภาพในการผลิตที่ดีขึ้น ข้อดีของพลังงานแสงอาทิตย์คือเป็นพลังงานสะอาด (อย่างน้อยก็ในตอนที่มันผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่) ข้อเสียคือเมื่อไม่มีแดดจำเป็นต้องมีรูปแบบการเก็บพลังงานไว้ในรูปแบบแบตเตอรี่ แต่ภาพรวมก็ยังถือว่าเป็นการผลิตไฟฟ้าที่โลกเรากำลังจะมุ่งไปอนาคตอยู่ดี

ล่าสุดอินเดียมีแผนอันทะเยอทะยานที่อยากจะเป็นหนึ่งในผู้ผลิตกระแสจากพลังแสงอาทิตย์ชั้นนำของโลก ด้วยการประกาศว่าทางอินเดียมีแผนที่จะผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้ได้ 100 GW ภายในปี 2030 หรือ 2035 และได้มีการยื่นประมูลไปแล้ว

โดยเมื่อสามปีที่แล้วทางอินเดียเร่งสร้างโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลล์เพื่อให้สนองกับแผนอันสุดทะเยอะทะยานนี้ โดยขณะนี้อินเดียมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพียงแค่ 24.4 GW เท่านั้นซึ่งถือว่าไกลจากแผนที่ตั้งไว้ค่อนข้างมาก หากเปรียบเทียบกับง่าย ๆ ประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ขณะนี้กำลังการผลิตอยู่ที่ 55.9 GW ถึงแม้ว่าจะน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง แต่กำลังการผลิตของอินเดียนั้นเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากโดยหากเทียบกับปีที่แล้วนั้นเพิ่มขึ้นถึงมากกว่า 72 เปอร์เซนต์

Johannes Urpelainen ผู้เชี่ยวชาญชาวอินเดียจาก Columbia University Center on Global Energy Policy กล่าวว่าแผน 100 GW ของอินเดียนี้ไม่ได้มาแบบเป็นโรงไฟฟ้าขนาดยักษ์โรงเดียว แต่จะมาแบบโรงงานเล็ก ๆ รวมกัน โดยขณะนี้พลังงานแสงอาทิตย์กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในอินเดีย ไปที่ไหนก็จะเจอคนใช้งาน ซึ่งหากเทียบกับเมื่อหกปีทีแล้วซึ่งแทบไม่มีคนใช้เลย

ในขณะที่เศรษฐกิจของอินเดียกำลังเติบโตอย่างมาก แต่ปัญหาเรื่องมลพิษที่เกิดจากโรงไฟฟ้าแบบถ่านหินก็ยังเป็นปัญหาอย่างมากสำหรับชาวอินเดีย โดยโรงไฟฟ้าถ่านหินทำให้เกิดมลพิษต่อเมืองใหญ่ โดยล่าสุดอินเดียเพิ่มโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 4.6 GW ทำให้มีมลพิษมากเข้าไปอีก โดยมีเมืองกว่า 20 เมืองของอินเดียติดอันดับเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดของโลก ฉะนั้นอินเดียจึงต้องการแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สะอาดเช่นโซล่าเซลล์โดยด่วนเพื่อตอบสนองกับความต้องการที่มากขึ้น

ที่มา Ars Technica

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *